[Book Review] Jacques Ranciere

Jacques Ranciere

                ‘ฌาคส์ ร็องซิแยร์’ เมื่อพูดถึงชื่อนี้คงหนีไม่พ้นแนวคิดเรื่องการเมือง และสุนทรียศาสตร์ที่ไม่เหมือนใคร ด้วยแนวคิดที่มีพื้นฐานอยู่บน “ความไม่เห็นด้วย” (Disagreement) และความต้องการให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิ์มีเสียงในระบบการปกครองมีพื้นที่ทางการเมืองเป็นของตัวเอง เราคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า “การเมือง” ของร็องซิแยร์มีรูปแบบที่เป็นอุดมคติอย่างแท้จริง

                ไม่เหมือน Utopia ของโทมัส มอร์ (Thomas More) และต่างจาก The Republic ของเพลโต (Plato) หนังสือเรื่อง Jacques Ranciere เล่มนี้ จะพาเราไปทำความเข้าใจอุดมคติในรูปแบบใหม่ตามแนวคิดของร็องซิแยร์ การไม่เอาเฉพาะความเห็นของคนส่วนใหญ่เป็นตัวตั้ง การรับฟังเสียงส่วนน้อย การแยกระบบสังคมกับการเมืองออกจากกัน การผูกสุนทรียศาสตร์ ผลงานศิลปะและงานวรรณกรรมเข้ากับการเมือง และแนวคิดเกี่ยวกับความเห็นต่างที่ไม่ใช่ความขัดแย้ง ทั้งหมดนี้ทำให้เรามองเห็นอีกด้านหนึ่งของประชาธิปไตย โครงสร้างสังคม และแนวคิดด้านปรัชญา ที่เมื่ออ่านไปแล้วไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับร็องซิแยร์ก็ตาม

                แนวคิดของร็องซิแยร์ไม่ใช่แนวคิดที่เข้าใจยาก แต่มันก็ไม่ได้เข้าใจง่ายด้วยเช่นกัน การอ่าน Jacques Ranciere โดยเฉพาะในเรื่องของ “การไม่เห็นด้วย” ก็คล้ายกับความรู้สึกที่เดอเลิซได้อธิบายไว้ถึง ประโยค “I would rather not” ในเรื่องสั้น Bartleby ซึ่งเป็นคำอธิบายที่มีผลต่อความคิดของร็องซิแยร์ในเวลาต่อมา ว่าทำให้ผู้ฟังไม่รู้จะตอบกลับไปอย่างไร นั่นไม่ใช่เพราะอ่านไม่เข้าใจ แต่เป็นเพราะถึงจะคิดว่าการเมืองในแบบของร็องซิแยร์เป็นไปได้ยาก แต่หากมันเกิดขึ้นจริงก็คงไม่มีใครสามารถบอกได้ว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่ดี นั่นทำให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเกี่ยวกับการเมืองที่ควรค่าแก่การอ่าน ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด หรือมีแนวคิดทางการเมืองแบบไหนก็ตาม เพราะมันจะทำให้เราได้เห็น “ความสามารถที่จะอยู่ร่วมกัน” ของคนส่วนใหญ่และส่วนน้อย เพียงแค่เปลี่ยนเสียงเป็นคำพูด และมองคนอื่นว่ามีสถานะทางการเมืองเท่าเทียมกับตนเองเท่านั้นเอง

May 19, 2017
934 views

Other journal

  • [Book Review] APICHATPONG WEERASETHAKUL SOURCEBOOK – The Serenity of Madness

    ไดอารี่ จดหมาย การถาม-ตอบ และบทความที่สนใจ ล้วนเป็นสิ่งที่แสดงถึงแนวคิดเบื้องหลังการทำงานของศิลปินคนหนึ่ง และการเปิดเผยสิ่งเหล่านั้นให้ผู้คนได้มองเห็นก็เหมือนเอาชีวิตของตนมาตีแผ่เป็นบทความสารคดีเรื่องหนึ่ง นิทรรศการ The Serenity of Madness ก็เป็นเหมือนสารคดีขนาดสั้นที่บอกเล่าเรื่องราวของคุณ อภิชาติพงศ์ ในรูปแบบที่เจาะลึกมากกว่าสารคดีทั่วไป นั่นเพราะมันเป็นเรื่องราวที่ถูกร้อยเรียงขึ้นโดยตัวศิลปิน

    Onanong Pongpanpipat
    Jun 24, 2017
    699 views

  • [Book Review] Van Gogh in Context

    บริบททางสังคมกับความรู้สึกภายในของศิลปินมีผลกระทบต่อกันและกันมากขนาดไหน อะไรเป็นตัวกระตุ้นให้ศิลปินหยิบพู่กันมาวาดรูปสักรูปหนึ่ง และในทุกครั้งที่นั่งอยู่เบื้องหน้ากระดานวาดภาพศิลปินเหล่านั้นคิดอะไรอยู่ในหัว Van Gogh in Context ได้หยิบจับบริบทภายนอกมาบอกเล่าเรื่องราวไปพร้อมๆ กับความคิด พฤติกรรม และคำพูดของศิลปินเอกของโลก Van Gogh ให้ผู้ที่เข้าร่วมนิทรรศการได้เห็นมุมมองที่กว้างขวางและแปลกตาไปจากคำบอกเล่าเดิมๆ ที่มีต่อตัวศิลปินผู้นี้ ที่จะทำให้ความรู้สึกของเราต่างไปจากเดิม

    Onanong Pongpanpipat
    Jun 24, 2017
    701 views

  • [Book Review] KATSUSHIKA HOKUSAI

    หากพูดถึงศิลปินที่มีชื่อเสียงในการเปลี่ยนนามปากกาและย้ายที่อยู่บ่อยมากพอกับการเป็นที่รู้จักผ่านผลงานอันโด่งดังมากมาย "คัตสึชิกะ โฮะคุไซ" ก็คือศิลปินคนนั้น ไปทำความรู้จักกับประวัติและผลงานในแต่ละยุคสมัย แต่ละนามปากกา ของคุณปู่ที่เรียกตัวเองว่าตาแก่บ้าวาดรูปธรรมดาๆ แล้วตัดสินใจไปพร้อมๆ กันว่า โฮะคุไซ เป็นแค่คนแก่อย่างที่ตนเองกล่าวแค่นั้นจริงหรือไม่ได้ใน KATSUSHIKA HOKUSAI เล่มนี้

    Onanong Pongpanpipat
    Jun 14, 2017
    736 views

  • [Book Review] RENAISSANCE ART: ศิลปะเรอเนซองส์

    Creation of Adam, Piete กับ David ของมิเคลันเจโล Self Portrait, Mona Lisa และ Vitruvian man ของลีโอนาร์โด ดา วินชี หรือบางทีอาจมี The School of Athens และ Disputation of the Holy Sacrament (La Disputa) ของราฟาเอล ซานซิโอ นั่นเป็นผลงานศิลปะและศิลปินสมัยเรอเนซองส์ที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จัก ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วมีผลงานของผู้สร้างสรรค์ชั้นครูอีกมากที่ถูกจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ในยุโรป ที่เราจะได้เห็นไปพร้อมๆ กันใน 'RENAISSANCE ART: ศิลปะเรอเนซองส์' เล่มนี้

    Onanong Pongpanpipat
    Apr 2, 2017
    1231 views

About
There is no information.
Contact
e-mail: [email protected]