Atikom Mukdaprakorn

photography , media arts , management , writing

Chiang Mai Art Museum

 

พิพิธภัณฑ์ศิลปะเชียงใหม่
ดินแดนที่อาจจะไม่ใช่ ‘พิพิธภัณฑ์’ เท่าที่คำถูกนิยามไว้

แม้เมืองเชียงใหม่จะหนาแน่นขึ้นทุกวัน แต่ก็ยังพอมีพื้นที่ให้โลกในฝันสามารถก่อรูปก่อร่างเป็นความจริงขึ้นมาได้อยู่ ที่สุดปลายอำเภอสันกำแพงเมื่อเราขับรถตามทางหลวงหมายเลข 1317 จนไปบรรจบกับเส้น 1006 (ถนนไปสันกำแพงเส้นเดิม) แล้วเลี้ยวที่แยกนั้นไปทางขวามุ่งสู่แม่ออน ผ่านทุ่งและป่าละเมาะไปเพียงครู่เดียวก็จะพบแนวรั้วเตี้ยๆ ล้อมอาคารปูนเปลือยกลุ่มหนึ่งไว้ ที่ด้านข้างมีอัฒจันทร์หินกองใหญ่ และผลงานประติมากรรมกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในสวนขนาดหลายสิบไร่ ที่นี่ยังไม่มีป้ายบอกชื่อสถานที่ แต่ก็มีป้ายแจ้งข่าวนิทรรศการศิลปะไว้อยู่ตรงทางเข้าให้เรารู้ได้ว่า เรามาถึง “พิพิธภัณฑ์ศิลปะเชียงใหม่” แล้ว

พิพิธภัณฑ์นี้เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อกลางเดือนมกราคม 2561 อาจจะน่าแปลกใจเล็กน้อยเมื่อมาเยี่ยมเยือนแล้วยังพบเห็นการก่อสร้างและต่อเติมในหลายจุด แต่หากได้มาเมื่อปีที่แล้วก็เป็นแบบเดียวนี่แหละ เพราะไม่ใช่ว่ายังสร้างไม่เสร็จ แต่นี่เป็นการทำงานกันมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่โครงการนี้ริเริ่มขึ้นในปี 2554 โดยกลุ่มศิลปินที่ต้องการพื้นที่ไว้แสดงจุดยืนให้สังคมได้ทำความเข้าใจความหมายของศิลปะและความเป็นศิลปินให้ชัดเจนขึ้น ที่นี่เป็นแหล่งรวมฝันของศิลปินนับร้อยคนที่ช่วยกันลงทุนลงแรงสร้างมันขึ้นมา

โครงการที่พวกเขาตั้งใจกันไว้นั้นมีขนาดใหญ่มากและต้องใช้ต้นทุนสูง จึงต้องค่อยๆ ก่อ ค่อยๆ ทำกันมาเรื่อยๆ จากการระดมทุนในหมู่ศิลปินมาซื้อที่ดินครั้งแรก 11 ไร่ (และขยายเพิ่มอีก 33 ไร่ ในภายหลัง) ปรับหน้าดินจากที่นาให้พร้อมสำหรับการสร้างอาคาร แล้ววางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2555 จนมาถึงการเปิดตัวอย่างเป็นทางการหลังจากสร้างอาคารแสดงงานหลังแรกแล้วเสร็จ ส่วนที่เหลือของแผนงานนั้นก็จะอยู่ในสัญญาใจระยะยาวหลายทศวรรษที่จะช่วยทำกันต่อไป ด้วยการระดมทุนผ่านการประมูลงานในแต่ละปีให้มีรายได้มาสร้างอาคารเพิ่มเติม ดำเนินกิจกรรมต่างๆ และสนับสนุนการแสดงงานให้กับศิลปิน ขณะนี้พิพิธภัณฑ์ศิลปะเชียงใหม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานและการเงินการภาษี รวมทั้งความสะดวกในการประสานงานกับองค์กรอื่นด้วย

เสียงเครื่องจักรก่อสร้างทำให้ที่นี่ผิดแผกจากหอศิลป์ทั่วไปที่มักจะสงบนิ่งไปทั่วอาณาบริเวณ แต่เมื่อเดินเข้าไปในห้องแรกของอาคารแสดงงาน บรรยากาศก็กลับกลายคล้ายว่าหลุดมายังอีกโลกหนึ่ง งานศิลปะขนาดใหญ่แต่ละชิ้นในห้องนั้นได้ดึงดูดให้เราต้องจมจ่อมลงไปสำรวจความคิดและความรู้สึกที่หลากหลายจนไปถึงความสงบเงียบในใจได้ในที่สุด ห้องแรกนี้เป็นห้องนิทรรศการระยะยาวซึ่งกำลังแสดงนิทรรศการ ‘ใจใหญ่’ ที่ศิลปินผู้เป็นคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ทั้ง 8 คน (ประสงค์ ลือเมือง, ศรีใจ กันทะวัง, พรชัย ใจมา, นิตย์ ใจงิ้วคำ, อัคร์ชนก ชิระกุล, อานันท์ ราชวังอินทร์, สุรทิน ตาต๊ะนะ และ ชัยวัฒน์ คำฟั่น) ได้ทำผลงานศิลปะขึ้นมาใหม่กันคนละชุด เพื่อบริจาคเป็นงานประเดิมให้พิพิธภัณฑ์สะสมไว้ แต่ละชุดนั้นกินพื้นที่การแสดงถึงสิบเมตรแต่ก็ยังอยู่ร่วมกันในห้องนี้ได้อย่างไม่อึดอัด ส่วนอีกห้องข้างๆ เป็นห้องขนาดเดียวกันสำหรับนิทรรศการหมุนเวียน ใครจะมาแสดงเดี่ยวที่นี่ต้องเป็นศิลปินที่จริงจังไม่น้อยจึงจะสามารถจัดการพื้นที่ใหญ่โตขนาดนี้ได้อยู่หมัด นี่คืออาคารแสดงงานหนึ่งหลังที่มีแผนการจะสร้างอีกให้ครบ 10 หลัง ไว้รองรับงานศิลปินจากนานาชาติและผลงานสะสมของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งคาดว่าภายในปี 2564 จะสร้างแล้วเสร็จถึง 5 หลัง กับมีงานศิลปะในการสะสมถึงพันชิ้น พร้อมทำการในฐานะพิพิธภัณฑ์เต็มรูปแบบและเริ่มเก็บค่าเข้าชม

พรชัย ใจมา ศิลปินและกรรมการพิพิธภัณฑ์ได้นำจิตรกรรมขนาด 11 เมตร ที่ยังวาดไม่เสร็จชิ้นหนึ่งของเขามาแขวนร่วมแสดงไว้ในงาน ‘ใจใหญ่’ ด้วย เขายังคงค่อยๆ มาเติมแต่งเรื่องราววิถีชีวิตคนเมืองลงไปอย่างวิจิตรและยิบย่อยละลานตา เส้นสีที่ยังไม่จบของภาพหมู่บ้าน วัดวา เทศกาล และผู้คนฮอมกันมาสร้างบ้านแปงเมือง ชวนให้เราติดตามความเป็นไปของเรื่องราวในชิ้นงานต่อไป ซึ่งก็มีชาวบ้านชาวนาในละแวกนั้นแวะมาชมกันอยู่เนืองๆ คุณพรชัยเล่าว่าความคิดที่ว่าคนไทยไม่เข้าพิพิธภัณฑ์เพื่อดูงานศิลปะนั้น ไม่น่าจะถูก คนไทยนั้นรสนิยมดีมากแต่บ้านเราขาดแคลนพื้นที่แบบนี้มากกว่า เมื่อมีแล้วคนก็เข้ามาเรียนรู้การดูงานศิลปะซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมองหาความสวยงามหรือสมจริงเท่านั้น แม้แต่งานที่ไม่มีเรื่องราวแต่สามารถทำให้เราละโลภ โกรธ หลง อันสับสนวุ่นวายภายนอกตัวเราไปได้ในระหว่างการดู และพบความสุขที่แท้จริงได้ นั่นก็เป็นความจรรโลงใจแล้ว เช่นเดียวกับการที่คนไทยเข้าวัดแล้วมีความสุขเล็กๆ เกิดขึ้นในใจ เขาอาจไม่รู้ตัวว่ามันเกิดจากศิลปะรอบตัวที่อยู่ในวัดนั่นเอง

ไม่ได้มีแต่พื้นที่ให้ชมงานศิลปะเท่านั้น ที่นี่ยังมี Naive Cafe ร้านอาหารซึ่งมีเมนูพิเศษเป็นเครื่องดื่มที่ออกแบบตามงานชั้นครูของศิลปินดังด้วย และที่ท้ายอาคารแสดงงานหลังแรกนี้ก็กำลังดำเนินการก่อสร้างต่อเติมเป็นห้องสมุดศิลปะไว้ให้หาความรู้เพิ่มเติมกันด้วย ถัดจากตรงนั้นข้ามลำเหมืองไปก็จะพบกับ ‘หมู่บ้านศิลปิน’ ในพื้นที่อีกกว่าครึ่งของพิพิธภัณฑ์ศิลปะเชียงใหม่ ขณะนี้มีอาคารตั้งอยู่ 3 - 4 หลัง ทั้งที่ใช้งานมานานแล้วและที่กำลังสร้างอยู่ รวมถึงว่ายังมีแปลงเปล่าที่ศิลปินและสถาบันการศึกษาได้มาจับจองกันไว้แล้วเพื่อรอวันมาสร้างอาคารต่างๆ กันต่อไป หมู่บ้านนี้มีทั้งสตูดิโอสำหรับทำงานจิตรกรรม ประติมากรรม ที่เปิดให้เข้าชมการทำงานและใช้ชีวิตของศิลปินได้ ศรายุทธ วิริยะ ศิลปินคนหนึ่งที่อยู่ในหมู่บ้านนี้เล่าว่าเขามาอยู่ที่นี่ตั้งแต่เพิ่งเรียนจบ ร่วมบุกเบิกที่แห่งนี้ตั้งแต่น้ำใช้ยังแดงต้องแกว่งสารส้มมาจนทุกอย่างสะดวกสบายขึ้นแล้วในปัจจุบัน เขาได้เรียนรู้การทำงานจากเพื่อนๆ และแลกเปลี่ยนกับศิลปินที่มาเยี่ยมเยียนอยู่เสมอทำให้พัฒนางานของตัวเองได้ดีขึ้นด้วย

“เราวางแผนกันไว้ 50 ปี ผมทำ 20 ปี แล้วก็ส่งต่อให้คนถัดไป” สัญญาใจที่คุณพรชัยและกรรมการปัจจุบันมอบไว้ให้กับที่นี่ ยังมีอีกหลายสิ่งที่พวกเขาอยากทำเพื่อให้ที่นี่เป็นโครงการระดับโลกอย่าง พำนักสถานศิลปิน ไว้สำหรับแลกเปลี่ยนศิลปินและความรู้กับองค์กรศิลปะจากทั่วโลกที่ติดต่อกันอยู่ และทำการสะสมงานศิลปะให้เป็นระบบที่สืบค้นเรียนรู้ได้ ทั้งหมดก็เพื่อพัฒนาให้ศิลปินรุ่นใหม่สามารถมีอาชีพทางศิลปะได้จริงและสร้างความสัมพันธ์กับสังคมให้เข้าใจศิลปะมากขึ้น ภายใต้แนวคิด “ศิลปินเพื่อศิลปะ ศิลปะเพื่อศิลปิน ศิลปินเพื่อสังคม” ที่เชื่อว่าหากศิลปินมุ่งมั่นตั้งใจจริงกับการสร้างผลงานที่ดีและการสร้างพื้นที่เพื่อศิลปะแล้ว ศิลปะนั้นก็จะย้อนกลับมาช่วยศิลปินเองให้มีความเป็นอยู่ที่ดี พร้อมช่วยเหลือสังคมต่อไปได้

ม้าเล็มหญ้าอยู่ปลายสวน ฝูงลูกเจี๊ยบเดินตามแม่ใต้ต้นสุพรรณิการ์ ลูกแมวมานอนเฝ้าคนเล่นหมากรุกในศาลา และศิลปินน้อยใหญ่ที่กำลังทำงานของตนกันอยู่ในสตูดิโอ “ที่นี่ไม่น่าจะเรียกว่าพิพิธภัณฑ์ศิลปะนะ” เพื่อนชาวต่างชาติของคุณพรชัยเคยกล่าวไว้หลังจากได้มาเยี่ยมชมและฟังโครงการในอนาคต “แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรดี” ก็คงจะจริงในความหมายของ museum ที่หมายถึงห้องเก็บของ แต่ที่นี่คือ museum ในความหมายดั้งเดิมที่แปลว่าวิหารแห่งกลุ่มเทพ Muse ผู้มอบแรงบันดาลใจทางศิลปะวิทยาให้กับผู้คน สิ่งที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเชียงใหม่เก็บไว้คือ ‘ชีวิต’ คือความเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งทางกายภาพของสถานที่และจิตใจของคนที่เกี่ยวข้อง และเมื่อเป็นชีวิต จึงไม่มีการหยุดนิ่ง ทุกครั้งที่มาเยี่ยมเยือนที่นี่ ก็จะมีอะไรใหม่ให้แปลกใจ ไม่รู้จบ


ตีพิมพ์ครั้งแรกใน WeSmile Magazine ฉบับเดือนพฤษภาคม 2561
เขียนเพิ่มเติมสำหรับ cac-ART.INFO เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2561

 

Chiang Mai Art Museum

Even though Chiang Mai is densely populated, there’s still enough space for the world of imagination to materialise. We drove along highway 1317 until it met with 1006, the old road to San Kamphaeng. Eventually, we were greeted with sculptures across an open land. There was no sign to say what this place was, but an event poster told us that we had reached the Chiang Mai Art Museum.

Having launched only this past January, it’s not surprising to still find some spots under construction. However, if you came the previous year you would find the same scene, as the museum has been in a continuous stage of building since 2011. It was originally intended as a place for artists to explore their creativity. With such a grand plan the project required a great deal of time and financing, hence the slow growth.

The noise of construction may make this museum stand apart, but once inside you’ll feel as if you were in a different world. Each painting and object makes us think of the peaceful world that these artists operate in. We walked into the permanent exhibition hall which showcases ‘Jai Yai’, created by the original 8 artists of the museum, with large-format pieces they donated. Next to it is the temporary exhibition hall. Those who seek a solo exhibition here must be a serious artist, as they would have to fill an incredibly large space. This was only 1 of 10 buildings planned, with a building soon to be dedicated to international artists.

One piece that spans over 11 metres by Pornchai Jaima is not yet finished, but is already hung in the ‘Jai Yai’ exhibition. The artist comes in to add to the painting, creating more characters into the scene of daily life in Thailand. Pornchai notes that art doesn’t have to be something grand and beautiful, but they can be anything that can induce an emotion in the viewer. As for the Thai people, many may feel emotions when going to a temple, but they may not realise that the art around them has created some of those feelings.

This place is also home to Naive Cafe, designed by a famous art teacher. Behind the building is also a library, and even more interesting is the artist village, with new and old buildings as well as an empty plot of land ready for a new space. Sarayut Viriyah was one of the first artists to stay here, and says he has been here since he graduated. In the early days, the tap water still had red sediments and they struggled to live there until things become more comfortable. But now he is able to live and learn from other artists to improve his own work.

“We have a plan for 50 years, I’ll do it for 20 years and then hand it over to someone else,” Pornchai Jaima says. There are many things they want to achieve like creating the artist residency programme, but their main goal is to help new artists get into the field and help people understand art more.

There were horses grazing at the end of the property, and chicks walking with their mother under the Supanniga tree. We saw kids playing chess in a pavilion and artists busy at work in their studios. “This is supposed to be a museum of art,” says Pornchai, “When my foreign friend visited they noted that it was a museum in the most traditional sense, that it provided a ‘muse’ for the creation of art, rather than being simply a space to display objects.” this place is ever-changing. Every time I visit there is something new where once there was nothing. It is fitting after all, to create something that was not there before, is no different than creating art itself.

First published in WeSmile Magazine, May 2018

Jun 3, 2018
4273 views

Other journal

  • KONYA2023: The TRAVELLERS PROJECT in Fukuoka

    Konya2023 ได้บูรณะความคิดต่อสถาปัตยกรรมให้เปลี่ยนจากเรื่องของ 'พื้นที่' มาเป็น 'เวลา' เพื่อกำหนดวงจรของการพบปะคนใหม่ๆ โดยการเปิดให้นักสร้างสรรค์สามารถมาเช่าใช้ได้ในราคาถูกแบบจำกัดเวลา กระตุ้นให้พวกเขาใช้โอกาสนี้พัฒนางานของตัวเองให้สำเร็จก่อนต้องย้ายออกไปและขวนขวายการเรียนรู้จากผู้ร่วมอาศัยคนอื่นในช่วงเวลาเดียวกันที่ทำงานแตกต่างกันไปให้ช่วยกันลับคมผลงานให้ดียิ่งขึ้น ที่นี่จึงกลายเป็นชุมชนศิลปินและนักออกแบบที่หมุนเวียนผู้คนมาทำอะไรสนุกๆ กันในย่านไดเมียว ฟุกุโอกะ นับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา

    Atikom Mukdaprakorn
    May 4, 2018
    725 views

  • minimal. gallery 2007 - 2017

    มินิมอล.เริ่มต้นบนนิมมานซอย 13 เมื่อปี 2007 สปิริตที่สำคัญในเชียงใหม่ช่วงนั้น คือ สปิริตแห่งการทดลอง-ความผิดท่าผิดกลิ่น-การหาคำถามใหม่ที่ไม่พาไปสู่คำตอบเก่าๆ เมืองที่ไม่ใช่เมืองหลวงแต่ก็อยากเป็นตัวของตัวเองที่ไม่ใช่ที่เคยมีมากว่า 700 ปีก่อนหน้านั้น มันไม่ง่ายเลยที่ของใหม่ๆ เหล่านี้จะมีคนอุดหนุนซื้อขายกัน แต่ ทีมมินิมอล. กลับเลือกจะทำแกลเลอรี่ที่ลุยไปกับวัฒนธรรมที่ยังเยาว์เหล่านี้

    Atikom Mukdaprakorn
    Apr 30, 2017
    3661 views

  • GOOD LIFE | มันเลยไม่มีคำตอบ

    เมื่อความเป็นจริงที่แท้จริง ไม่สำคัญ อะไรก็สามารถปลุกเสกให้เป็นความจริงได้ เพียงร่วมกันเชื่ออย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไว้ แม้กระทั่งเหตุผลรองรับความไม่จริง หรือเรื่องเล่าที่ทำให้การหลักการลอยๆ ดูสมเหตุสมผลขึ้นมา ก็เป็นความจริงได้ อย่างเช่นแผนผังที่สร้างขึ้นมารวบทุกสิ่งที่ขัดแย้งต่อหลักการสูงสุดของสังคมมาไว้เป็นกลุ่มของสิ่งไม่พึงประสงค์ที่ต้องกำจัดไปจากสังคม ก็ได้รับการเชื่อถือและนำมาใช้แม้จะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ จนเมื่อพบว่าไม่จริง ก็ไม่มีใครใส่ใจจะแก้ไขผลที่เกิดขึ้นไปแล้ว ทั้งที่ยังมีผู้ต้องเจ็บปวดจากมันอยู่ เรื่องอื่นๆ กำลังวนมารอคิวเข้าสู่ความสนใจของสังคม อีกเรื่อง/อีกครั้ง ถ้าไม่รีบทำเป็นลืมปัจจุบันที่กำลังผ่านไป เดี๋ยวจะไม่ร่วมสมัยเท่าคนอื่น

    Atikom Mukdaprakorn
    Jul 21, 2016
    1031 views

  • From Dust Till Dawn

    Given its lack of nationality, it makes one wonder from which tradition Paphonsak has drawn to create such painting. It even makes us uncertain as to which model has inspired his works of art. And our understanding shall continue to be mitigated by our fixation on the locality of his works, even though such instinct may be the preliminary factor that influences our beholding of the views so unfamiliar to us.

    Atikom Mukdaprakorn
    Feb 28, 2016
    1204 views

About

Co-founder of mute mute, which emphasizes mutual discussion about society in order to expand the boundary of perception through art, cultural performances and social activities in different forms. He is personally interested in media/art culture, especially domestic photography, freedom of expression and the state of art in Thailand. These form the basis for many of the conditions used in his media/art performances. Currently, he has been collaborating on the project "Chiang Mai Art Conversation" which originated in Chiang Mai. The purpose of the project is to facilitate a connection of art with discussion and Thai society to gain greater knowledge through all kinds of management and media.

CV Download
Contact
e-mail: [email protected]
Website
http://atikomm.tumblr.com
Social