[Book review] กว่าจะเป็นร่วมสมัย หนังสือรวมบทความและบทวิจารณ์เกี่ยวกับศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยในอุษาอาคเนย์

กว่าจะเป็นร่วมสมัย

หนังสือรวมบทความและบทวิจารณ์เกี่ยวกับศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยในอุษาอาคเนย์

 กว่าจะเป็นร่วมสมัยถือเป็นหนึ่งในหนังสือที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ศิลป์ในอุษาอาคเนย์ได้ดีเล่มหนึ่ง เพราะไม่เพียงแค่ทำให้เราเห็นภาพรวมของสิ่งที่เกิดขึ้นกับศิลปะภายหลังยุคสงครามเท่านั้น แต่เรายังสามารถมองลึกลงไปถึงเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการต่อสู้เพื่อพัฒนาตัวเองของประเทศต่างๆ ผ่านมุมมองทางศิลปะอย่างเจาะลึกอีกด้วย

สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ คือการที่มันมีการบอกเล่าเรื่องราวผ่านบทวิจารณ์ ซึ่งเราเห็นได้ไม่บ่อยนัก ส่วนมากแล้วหนังสือประวัติศาสตร์ หากไม่เขียนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตรงๆ ก็มักจะอยู่ในรูปแบบของการรวบรวมหลักฐานต่างๆ แล้วสร้างเป็นทฤษฎีขึ้นมาอธิบาย หากจะมีการวิจารณ์ ก็จะเป็นการสอดแทรกอยู่เล็กๆ น้อยๆ ตามเนื้อหามากกว่าการที่จะเป็นบทวิจารณ์ทั้งบทอย่าง กว่าจะเป็นร่วมสมัย และแม้ว่าจะใช้การวิจารณ์เป็นวิธีสื่อสารกับผู้อ่าน แต่เราก็สามารถเข้าใจและเห็นภาพของสิ่งที่หนังสือต้องการจะสื่ออย่างชัดเจน ถือเป็นความแปลกใหม่และท้าทายอย่างหนึ่งสำหรับผู้อ่าน เพราะเราต้องคิดตามและเปรียบเทียบสิ่งที่หนังสือกำลังสื่อและสิ่งที่เรารู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อตีค่าข้อมูลที่ได้รับมา เนื่องจากเมื่อได้ชื่อว่าบทวิจารณ์แล้ว ไม่มีทางที่มันจะเปี่ยมไปด้วยข้อมูลที่เป็นกลางอย่างแท้จริง การที่จะเลือกเชื่อหรือไม่เชื่อในข้อมูลที่มีอยู่จึงขึ้นอยู่กับผู้อ่านเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ว่าหนังสือจะเขียนขัดหรือเป็นไปตามความเชื่อของเรา การอ่านมันก็ถือเป็นการเปิดทัศนะใหม่ๆ และขยายความรู้ให้เราเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต และการพัฒนามาเป็นปัจจุบันในทุกวันนี้อยู่ดี

ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ กว่าจะเป็นร่วมสมัย คือการที่ทุกๆ บทความมีจุดมุ่งหมายในการอธิบายเรื่องๆ เดียวกัน แต่ในทุกๆ บทความกลับมีมุมมอง เรื่องราว และวิธีการอธิบายที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากมันมาจากปลายปากกาของนักเขียนคนละคน มีแนวคิดเริ่มต้นคนละแนว มันไม่ได้พูดถึงแค่สิ่งที่เกิดขึ้นกับศิลปะ หรือการพัฒนาของศิลปะในประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือพูดถึงเพียงภูมิภาคอุษาอาคเนย์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันได้บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศที่รวมกันขึ้นเป็นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศที่เกี่ยวข้อง ทั้งวิธีการที่ประเทศเหล่านั้นสร้างตัวตนขึ้นมาผ่านพื้นที่ทางศิลปะ วิถีทางศิลปะของในแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน และพัฒนาการทางศิลปะที่เกิดขึ้นพร้อมกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้การอ่านหนังสือเล่มนี้เหมือนกับการนั่งต่อจิ๊กซอว์แต่ละชิ้นเข้าด้วยกันเป็นภาพใหญ่ แต่ในขณะเดียวเดียวกัน ภายในชิ้นส่วนของจิ๊กซอว์ชิ้นเล็กๆเหล่านั้นก็ยังมีจิ๊กซอว์ชิ้นที่เล็กกว่ารวมตัวกันอยู่ เป็นการแสดงให้เห็นภาพรวมของศิลปะอย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังคงชัดด้วยรายละเอียดเล็กๆ ที่สอดแทรกอยู่ทั่วไปในแต่ละบท เมื่อรวมเข้ากับสไตล์การเขียนและทัศนะที่แตกต่างกันในทุกๆ หัวข้อแล้ว ก็ทำให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ช่วยเปิดโลกทางศิลปะในมุมมองใหม่ๆ ได้ดีทีเดียว

สุดท้ายนี้ กว่าจะเป็นร่วมสมัย อาจมีข้อผิดพลาดอยู่บ้างในด้านของภาษา แต่มันก็ไม่ได้มีผลอะไรกับการอ่านมากนัก และหากเรามุ่งความสนใจไปที่เนื้อหาที่มันนำเสนอแล้วล่ะก็ เราก็จะได้เห็นศิลปะในแง่มุมใหม่ๆ การเล่าเรื่องผ่านบทความวิจารณ์เป็นหนึ่งในการอธิบายที่เราเห็นได้ไม่บ่อยนัก เช่นเดียวกับการที่จะรวมตัวนักเขียนหลายๆ คนมาเขียนงานไว้ในหนังสือเล่มเดียว กว่าจะเป็นร่วมสมัย จึงไม่ใช่แค่หนังสือเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ทางศิลปะธรรมดาๆ เล่มหนึ่ง แต่ยังเป็นหนังสือที่รวบรวมเอาทัศนะทางศิลปะของบุคคลหลายๆ คนมาไว้ด้วยกัน ถือเป็นหนังสือที่มีทั้งประโยชน์และความน่าสนใจอยู่ในตัวเอง และแน่นอนว่าหนังสือเล่มนี้มีให้ทุกคนได้เข้ามานั่งอ่านกันได้ที่ห้องสมุดของ ACS หรือ Asian Culture Station ทุกวันยกเว้นวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 11.00น. – 19.00น. หรือจะมานั่งเล่น ดูแคตาล็อคนิทรรศการ หรือมาเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ ของทางเราก็ยินดีต้อนรับเช่นกันค่ะ JJJ

Mar 15, 2017
1608 views

Other journal

  • [Book Review] APICHATPONG WEERASETHAKUL SOURCEBOOK – The Serenity of Madness

    ไดอารี่ จดหมาย การถาม-ตอบ และบทความที่สนใจ ล้วนเป็นสิ่งที่แสดงถึงแนวคิดเบื้องหลังการทำงานของศิลปินคนหนึ่ง และการเปิดเผยสิ่งเหล่านั้นให้ผู้คนได้มองเห็นก็เหมือนเอาชีวิตของตนมาตีแผ่เป็นบทความสารคดีเรื่องหนึ่ง นิทรรศการ The Serenity of Madness ก็เป็นเหมือนสารคดีขนาดสั้นที่บอกเล่าเรื่องราวของคุณ อภิชาติพงศ์ ในรูปแบบที่เจาะลึกมากกว่าสารคดีทั่วไป นั่นเพราะมันเป็นเรื่องราวที่ถูกร้อยเรียงขึ้นโดยตัวศิลปิน

    Onanong Pongpanpipat
    Jun 24, 2017
    693 views

  • [Book Review] Van Gogh in Context

    บริบททางสังคมกับความรู้สึกภายในของศิลปินมีผลกระทบต่อกันและกันมากขนาดไหน อะไรเป็นตัวกระตุ้นให้ศิลปินหยิบพู่กันมาวาดรูปสักรูปหนึ่ง และในทุกครั้งที่นั่งอยู่เบื้องหน้ากระดานวาดภาพศิลปินเหล่านั้นคิดอะไรอยู่ในหัว Van Gogh in Context ได้หยิบจับบริบทภายนอกมาบอกเล่าเรื่องราวไปพร้อมๆ กับความคิด พฤติกรรม และคำพูดของศิลปินเอกของโลก Van Gogh ให้ผู้ที่เข้าร่วมนิทรรศการได้เห็นมุมมองที่กว้างขวางและแปลกตาไปจากคำบอกเล่าเดิมๆ ที่มีต่อตัวศิลปินผู้นี้ ที่จะทำให้ความรู้สึกของเราต่างไปจากเดิม

    Onanong Pongpanpipat
    Jun 24, 2017
    696 views

  • [Book Review] KATSUSHIKA HOKUSAI

    หากพูดถึงศิลปินที่มีชื่อเสียงในการเปลี่ยนนามปากกาและย้ายที่อยู่บ่อยมากพอกับการเป็นที่รู้จักผ่านผลงานอันโด่งดังมากมาย "คัตสึชิกะ โฮะคุไซ" ก็คือศิลปินคนนั้น ไปทำความรู้จักกับประวัติและผลงานในแต่ละยุคสมัย แต่ละนามปากกา ของคุณปู่ที่เรียกตัวเองว่าตาแก่บ้าวาดรูปธรรมดาๆ แล้วตัดสินใจไปพร้อมๆ กันว่า โฮะคุไซ เป็นแค่คนแก่อย่างที่ตนเองกล่าวแค่นั้นจริงหรือไม่ได้ใน KATSUSHIKA HOKUSAI เล่มนี้

    Onanong Pongpanpipat
    Jun 14, 2017
    729 views

  • [Book Review] Jacques Ranciere

    "ความไม่เห็นด้วย" เมื่อพูดถึงคำๆ นี้ แน่นอนว่าสิ่งที่หลายคนคิดถึงคงหนีไม่พ้นการโต้แย้ง การมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันของบุคคลสองฝ่าย แล้วความไม่เห็นด้วยนี้จะกลายมาเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวได้อย่างไร "ฌาคส์ ร็องซิแยร์" มีคำตอบให้กับคุณ

    Onanong Pongpanpipat
    May 19, 2017
    930 views

About
There is no information.
Contact
e-mail: [email protected]