หากภาพถ่ายเป็นผลงานที่สะท้อนโลกภายนอกของศิลปิน งานเขียนและรูปวาดก็คงเป็นสิ่งที่สะท้อนโลกภายในของเจ้าของผลงาน เหมือนความคิดหนึ่งของ Van Gogh ที่ว่า ศิลปินใส่บางสิ่งบางอย่างของตัวเองลงไปในทุกผลงานภาพ พวกเขาปล่อยส่วนหนึ่งของชีวิตของตนออกไป บางครั้งเวลาที่เรามองไปที่ภาพวาด เราจึงเกิดความรู้สึกบางอย่างร่วมไปกับภาพวาดภาพนั้น ทั้งที่เฉดสีและการแสดงออกของชิ้นงานอาจไม่ได้เป็นไปในทางเดียวกับสิ่งที่เรากำลังรู้สึกอยู่เลยก็ได้ สำหรับเรา ผลงานที่ติดตาเราที่สุดของ Van Gogh คือ Wheat Field with Crows ไม่ใช่เพราะมันเป็นผลงานที่เราคิดว่าสวยที่สุดของ หรือเพราะมันเป็นผลงานชิ้นท้ายๆ ของเขา แต่เป็นเพราะครั้งแรกที่เห็นภาพวาดชิ้นนี้ มันให้ความรู้สึกบางอย่างกับเรา ความรู้สึกที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนตอนที่มองภาพวาดชิ้นอื่นๆ
ใน Van Gogh in Context หนังสือประกอบนิทรรศการ Van Gogh in Context ที่จัดขึ้นโดย The National Museum of Modern Art, Tokyo เมื่อปีค.ศ. 2005 ไม่ได้บอกคำอธิบายของศิลปินที่มีต่อผลงานของตัวเอง แต่บอกถึงภูมิหลัง ความรู้สึก และการเติบโตของ Van Gogh ร่วมไปกับบริบทสังคมและผู้คนภายนอกที่มีผลกระทบต่อทั้งแนวคิดในการสร้างผลงาน และความรู้สึกของตัวเขาเอง เหมือนอย่างที่ชื่อของนิทรรศการได้บอกเอาไว้ มันไม่ใช่แค่ Van Gogh แต่เป็น Van Gogh ที่ถูกจัดวางให้เห็นบริบทแวดล้อม การใส่คำพูดของเขาไว้ตามคำอธิบายประกอบต่างๆ ทำให้เราเห็นมุมมองที่เขามีต่อตัวเองและสิ่งรอบข้าง ในขณะที่คำพูดของผู้คนรอบข้างตัวเขา และคำอธิบายถึงสถานการณ์สังคม ณ ตอนนั้น ทำให้เราสามารถจินตนาการถึงภาพที่ Van Gogh ต้องพบเจอ และภาพของตัวเขาที่ผู้คนที่ได้พบกับเขาในขณะนั้นมองเห็น หรือกระทั่งจินตนาการถึงความรู้สึกของตัวเขาในขณะที่กำลังวาดภาพอยู่บนเก้าอี้ในโรงพยาบาล ในสตูดิโอ หรือในบ้านแถบชนบท และการที่ไม่ได้มีเพียงผลงานของ Van Gogh เท่านั้นที่ถูกจัดแสดง แต่ยังมีผลงานของนักวาดท่านอื่นๆ ที่ Van Gogh ชื่นชม และได้รับแรงบันดาลใจมาสรรค์สร้างผลงานของตัวเอง ก็ยิ่งทำให้เรามองเห็นตัวตนของ Vincent Van Gogh ได้มากยิ่งขึ้น
หนังสือประกอบนิทรรศการ Van Gogh in Context ที่เราได้อ่านในครั้งนี้ ช่วยตอบคำถามเรื่องความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังมองภาพ Wheat Field with Crows ของเรา แต่ก็ได้สร้างคำถามใหม่ไว้ภายในใจของเราเช่นกัน เราเชื่อว่าผู้คนที่ได้ชม หรืออ่านหนังสือประกอบนิทรรศการ Van Gogh in Context ก็คงจะเกิดคำถาม หรือเกิดความเข้าใจในบางสิ่งบางอย่างเช่นเดียวกับตัวเรา แต่สิ่งหนึ่งที่เราสามารถบอกได้แน่ๆ คือความตั้งใจของผู้จัด และผู้เขียนคำบรรยายประกอบนิทรรศการทั้งหมด เพราะทุกๆ ย่อหน้าในหนังสือประกอบนิทรรศการ Van Gogh in Context เป็นทุกย่อหน้าที่ทำให้เรามีอารมณ์ร่วมไปกับบริบทชีวิตของ Van Gogh ได้จริง แม้ว่าสิ่งที่เราทำจะมีแค่การอ่านหนังสือประกอบนิทรรศการอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมธรรมดาๆ ก็ตาม
Tweetไดอารี่ จดหมาย การถาม-ตอบ และบทความที่สนใจ ล้วนเป็นสิ่งที่แสดงถึงแนวคิดเบื้องหลังการทำงานของศิลปินคนหนึ่ง และการเปิดเผยสิ่งเหล่านั้นให้ผู้คนได้มองเห็นก็เหมือนเอาชีวิตของตนมาตีแผ่เป็นบทความสารคดีเรื่องหนึ่ง นิทรรศการ The Serenity of Madness ก็เป็นเหมือนสารคดีขนาดสั้นที่บอกเล่าเรื่องราวของคุณ อภิชาติพงศ์ ในรูปแบบที่เจาะลึกมากกว่าสารคดีทั่วไป นั่นเพราะมันเป็นเรื่องราวที่ถูกร้อยเรียงขึ้นโดยตัวศิลปิน
หากพูดถึงศิลปินที่มีชื่อเสียงในการเปลี่ยนนามปากกาและย้ายที่อยู่บ่อยมากพอกับการเป็นที่รู้จักผ่านผลงานอันโด่งดังมากมาย "คัตสึชิกะ โฮะคุไซ" ก็คือศิลปินคนนั้น ไปทำความรู้จักกับประวัติและผลงานในแต่ละยุคสมัย แต่ละนามปากกา ของคุณปู่ที่เรียกตัวเองว่าตาแก่บ้าวาดรูปธรรมดาๆ แล้วตัดสินใจไปพร้อมๆ กันว่า โฮะคุไซ เป็นแค่คนแก่อย่างที่ตนเองกล่าวแค่นั้นจริงหรือไม่ได้ใน KATSUSHIKA HOKUSAI เล่มนี้
"ความไม่เห็นด้วย" เมื่อพูดถึงคำๆ นี้ แน่นอนว่าสิ่งที่หลายคนคิดถึงคงหนีไม่พ้นการโต้แย้ง การมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันของบุคคลสองฝ่าย แล้วความไม่เห็นด้วยนี้จะกลายมาเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวได้อย่างไร "ฌาคส์ ร็องซิแยร์" มีคำตอบให้กับคุณ
Creation of Adam, Piete กับ David ของมิเคลันเจโล Self Portrait, Mona Lisa และ Vitruvian man ของลีโอนาร์โด ดา วินชี หรือบางทีอาจมี The School of Athens และ Disputation of the Holy Sacrament (La Disputa) ของราฟาเอล ซานซิโอ นั่นเป็นผลงานศิลปะและศิลปินสมัยเรอเนซองส์ที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จัก ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วมีผลงานของผู้สร้างสรรค์ชั้นครูอีกมากที่ถูกจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ในยุโรป ที่เราจะได้เห็นไปพร้อมๆ กันใน 'RENAISSANCE ART: ศิลปะเรอเนซองส์' เล่มนี้