25 : Time to be born (or die) Exhibition นิทรรศการศิลปะของกลุ่มศิลปินเบญจเพสที่ต้องการทำงานอะไรสักอย่างก่อนจะถึงคราซวยตามความเชื่อ Artists : Ap lor, Sichaya, Maneenoot, Phuping, Issarate, Chalaruk, Sippakorn, Chis, Mobsupawat Guest Artists : Rodwiroon and Purich Opening 6:00 pm 3 -17 June 2017 at Rakuda photo artisans & cafe
มินิมอล.เริ่มต้นบนนิมมานซอย 13 เมื่อปี 2007 สปิริตที่สำคัญในเชียงใหม่ช่วงนั้น คือ สปิริตแห่งการทดลอง-ความผิดท่าผิดกลิ่น-การหาคำถามใหม่ที่ไม่พาไปสู่คำตอบเก่าๆ เมืองที่ไม่ใช่เมืองหลวงแต่ก็อยากเป็นตัวของตัวเองที่ไม่ใช่ที่เคยมีมากว่า 700 ปีก่อนหน้านั้น มันไม่ง่ายเลยที่ของใหม่ๆ เหล่านี้จะมีคนอุดหนุนซื้อขายกัน แต่ ทีมมินิมอล. กลับเลือกจะทำแกลเลอรี่ที่ลุยไปกับวัฒนธรรมที่ยังเยาว์เหล่านี้
Creation of Adam, Piete กับ David ของมิเคลันเจโล Self Portrait, Mona Lisa และ Vitruvian man ของลีโอนาร์โด ดา วินชี หรือบางทีอาจมี The School of Athens และ Disputation of the Holy Sacrament (La Disputa) ของราฟาเอล ซานซิโอ นั่นเป็นผลงานศิลปะและศิลปินสมัยเรอเนซองส์ที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จัก ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วมีผลงานของผู้สร้างสรรค์ชั้นครูอีกมากที่ถูกจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ในยุโรป ที่เราจะได้เห็นไปพร้อมๆ กันใน 'RENAISSANCE ART: ศิลปะเรอเนซองส์' เล่มนี้
Curator's statement of Figurative Abstraction exhibition by Sébastien Tayac
การอ่านหนังสือปรัชญาที่มีนักปรัชญาหนึ่งคน คือการเรียนรู้แนวคิดของนักปรัชญาหนึ่งคนคนนั้น การอ่านหนังสือปรัชญาที่มีนักปรัชญาสองคน ก็เหมือนกับการสังเกตุการเติบโตของแนวคิดและสิ่งที่ตามมาหลังจากนั้น ไม่ว่าจะเป็นแบบขั้วเดียวหรือสองขั้วก็ตาม แต่ถ้าในหนังสือเล่มนั้นมีนักปรัชญามากกว่าสองคนมาโต้ตอบกันแล้วล่ะก็ คุณจะได้เห็นการต่อสู้ในโคลอสเซียม แบบที่มีคู่ต่อสู้มาโผล่มาจากทุกทิศทางและโจมตีโดยไม่สนว่าจะเป็นพวกเดียวกันหรือไม่ มันคือความบันเทิงในสายวิชาการที่ไม่ว่าจะเห็นกี่ครั้งก็อยากเข้าไปร่วมชมด้วยทุกครั้งไป
ละครเวทีเรื่อง “ซูเปอร์ พรีเมี่ยม ซอฟท์ ดับเบิ้ล วานิลลา ริช” (Super Premium Soft Double Vanilla Rich) ของคณะละครเชลฟิตช์ (Chelfitsch) เขียนบทและกำกับโดยโทชิกิ โอกาดะ (Toshiki Okada) เสียดสีสังคมบริโภคนิยมของญี่ปุ่นและความจำเจแต่เสแสร้งของงานบริการผ่านการเล่าความเป็นไปในร้านสะดวกซื้อ 24 ชั่วโมงชื่อร้านสไมล์ แฟคทอรี่ ตัวละครทั้งเจ็ด ได้แก่ พนักงานชายสองคน คนหนึ่งเป็นจอมป่วน อีกคนหนึ่งดูธรรมดา ผู้จัดการร้านแสนดี พนักงานฝึกงานสาวผู้มีอาชีพหลักเป็นนักแสดงละครเวที ซูเปอร์ไวเซอร์จากสำนักงานใหญ่ ลูกค้าสาวขาประจำที่มาซื้อไอศกรีม “ซอฟท์ ดับเบิ้ล วนิลลา ริช” อย่างเดียวทุกคืน และชายหนุ่มนักต่อต้านผู้แวะมาพูดจาก่อกวนที่ร้านทุกวัน ผลัดเปลี่ยนกันออกมาสร้างเรื่องเล่าเกี่ยวกับสังคมสมัยใหม่ที่ทุกคนตกเป็นทาสของวัตถุและการค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
"ภาพยนตร์เป็นศิลปะแห่งผี สงครามของผี ภาพยนตร์คือศิลปะที่จะทำให้ผีกลับมา" คือคำพูดส่วนหนึ่งจากบทกล่าวตาม "ผี" ของแดร์ริดาที่แปลโดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา สังคมของเราเต็มไปด้วยผี สังคมของเราเป็นไปอย่างทุกวันนี้ก็เพราะผี ไม่ว่าจะเป็นผีของมาร์กซ์ ผีของอดัม ผีของอิมมานูเอล แล้วความหมายของผีในที่นี้คืออะไร เราสามารถตามหาเค้าลางของผีได้ในหนังสือเล่มนี้ "ภาพยนตร์ของ Derrida และ Derrida ของภาพยนตร์"
การอ่านหนังสือเล่มนี้เหมือนกับการนั่งต่อจิ๊กซอว์แต่ละชิ้นเข้าด้วยกันเป็นภาพใหญ่ แต่ในขณะเดียวเดียวกัน ภายในชิ้นส่วนของจิ๊กซอว์ชิ้นเล็กๆเหล่านั้นก็ยังมีจิ๊กซอว์ชิ้นที่เล็กกว่ารวมตัวกันอยู่ เป็นการแสดงให้เห็นภาพรวมของศิลปะอย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังคงชัดด้วยรายละเอียดเล็กๆ ที่สอดแทรกอยู่ทั่วไปในแต่ละบท
ริงโก บูโนอาน ภัณฑารักษ์ชาวฟิลิปปินส์ เขียนเอาไว้ในสูจิบัตรนิทรรศการแบรนด์นิวเมื่อปี 2012 ว่า “คนรุ่นปัจจุบันมักได้รับคำบรรยายว่า ‘หมกมุ่นอยู่กับตัวเอง’ ‘หลงตัวเอง’ และโตมากับอินเตอร์เน็ต ต่างจากคนรุ่นก่อนที่ต่อสู้เพื่ออุดมคติร่วมกันและมีมุมมองในทิศทางเดียวกัน คำกล่าวนี้อาจเป็นจริงอยู่ส่วนหนึ่ง ...”
การจะได้รับยกย่องให้เป็นจอมยุทธ คนผู้นั้นจะต้องมีท่วงท่าร่ายรำที่ผสานเป็นหนึ่งเดียวกับกระบี่ เหนือไปกว่านั้น กระบี่ต้องอยู่ที่ใจ แม้กิ่งไผ่หรือใบอ้อก็สามารถใช้ประลองยุทธแทนกระบี่ได้ แต่การจะเป็นยอดนั้น ต้องละทิ้งทั้งกระบี่ ปล่อยวางทั้งจิตใจที่จะเข่นฆ่าหรือแก้แค้น ไม่แสวงหาแม้สงครามหรือสันติสุข แล้วจะค้นพบว่าการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่คือ การเอาชนะได้โดยไม่มีการต่อสู้ โลกนี้ไม่มีรางวัลสำหรับนักทำลาย แต่มีรางวัลให้มากมายสำหรับนักสร้างสรรค์